หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนา

หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
(ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.7/ว 3 ลงวันที่ 7 เมษายน 2554 และแก้ไขเพิ่มเติม หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.7/215 ลงวันที่ 6 กันยายน 2554)
          ตามที่พระราชบัญญัติระเบียนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 80 บัญญัติให้มีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่งและบางวิทยฐานะเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ วิชาชีพ ที่เหมาะสมในที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดประสิทธิผล และความก้าวห้าแก่ราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ประกอบกับ ก.ค.ศ. ได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษในมาตรฐานวิทยฐานะ ว่าต้องผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
       ก.ค.ศ. จึงกำหนดลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนตางตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษให้เป็นไปตามมาตรา80 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547  และมาตรฐานวิทยฐานะชำนาญการพิเศษซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
       1. หลักเกณฑ์
1.1 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้ารับการพัฒนา ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ
ในการเสนอขอรับการประเมินให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
1.2 ผลการพัฒนาให้นำไปใช้ในการแต่งจั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ผู้นั้นสำเร็จหลักสูตรการพัฒนา
2. วิธีการ
2.1 ให้ส่วนราชการร่วมกับสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จัดทำรายละเอียดของหลักสูตร คู่มือการพัฒนา และจัดให้มีการพัฒนา
2.2 ให้ส่วนราชการ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ตามที่ส่วนราชการและสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเห็นชอบร่วมกัน เป็นหน่วยดำเนินการพัฒนา
2.3 การจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรและคู่มือการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยาฐานะชำนาญการพิเศษ ในแต่ละตำแหน่งให้ดำเนินการ ดังนี้
                   2.3.1 การจัดทำรายละเอียดของหลักสูตร ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
                            ส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่
                           ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
                   2.3.2 ระยะเวลาในการพัฒนา รวมแล้วไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
                   2.3.3 การจัดทำคู่มือการพัฒนา ประกอบด้วย
                           1) คู่มือสำหรับผู้ดำเนินการพัฒนา
                          2) คู่มือสำหรับผู้เข้ารับการพัฒนา
               2.3.4 เมื่อจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรและคู่มือการพัฒนาและเสร็จให้ส่วนราชการรายงาน ก.ค.ศ. เพื่อทราบ
2.4 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามข้อ 1.1 ยื่นความประสงค์ขอเข้ารับการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ต่อส่วนราชการ ยกเว้นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ให้ยื่นต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษที่ผู้นั้นสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี
2.5 ส่วนราชการหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รวบรวมรายชื่อผู้ยื่นความประสงค์ขอเข้ารับการพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษทำหนังสือแจ้งไปยังส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ส่วนราชการต้นสังกัดมอบหมาย ภายในวันที่ 10 ของเดือน หน่วยดำเนินการพัฒนา ประกาศรายชื่อผู้เข้ารับการพัฒนา พร้อมวันเวลา สถานที่และรายละเอียดที่ผู้เข้ารับการพัฒนาควรทราบ ทางเว็บไซต์ ภายในวันที่ 25 ของเดือน
2.6 หน่วยดำเนินการพัฒนา ดำเนินการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ตามหลักสูตร โดยต้องดำเนินการพัฒนาให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายื่นความประสงค์ ขอเข้ารับการพัฒนา โดยมีวิธีการพัฒนา ดังนี้
                   2.6.1 ให้มีการพัฒนาโดยการเรียนรู้ที่หลากหลายจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น โดยมีการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับหลักสูตร
                    2.6.2 ให้มีการพัฒนาโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับ ผู้เข้ารับการพัฒนา
                    2.6.3 ให้มีการพบกลุ่ม
2.7 การประเมินผลการพัฒนา พิจารณาจาก 2 ด้าน ดังนี้
                   2.7.1  ด้านระยะเวลาเข้ารับการพัฒนา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ตามที่หน่วยดำเนินการพัฒนากำหนด
                  2.7.2 ด้านหลักสูตร พิจารณาจาก 3 ส่วน โดยคะแนนเฉลี่ย ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ดังนี้
                      ส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
            ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในวิทยฐานะชำนาญการพิเศษตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
                2.7.3 ผู้ที่ผ่านการพัฒนาต้องมีผลการประเมินผ่านทั้ง 2 ด้าน ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินให้ยื่นความประสงค์เข้ารับการพัฒนาใหม่ได้ นับแต่วันที่ทราบผลการประเมินไม่ผ่านการพัฒนา
               2.7.4 เมื่อการประเมินเสร็จสิ้น ให้หน่วยดำเนินการพัฒนาแจ้งผลการประเมินให้ส่วนราชการหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสำนักงานการศึกษาพิเศษ ของผู้เข้ารับการพัฒนาทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

โครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ปีงบประมาณ 256...